277 จำนวนผู้เข้าชม |
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ดังนั้น กองทุนฯ จึงได้มีการจัดทำวารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขึ้นเพื่อการสนับสนุนการวิจัยทางด้านสื่อ
การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทางการสื่อ คณาจารย์ บุคลากรสายวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ได้มีเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็นประเด็นดังนี้
- ประเด็นบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง กฎหมาย หรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่ส่งผลหรือเกี่ยวเนื่องกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
- การศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อ
- การวิเคราะห์สื่อเก่า (สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์) และสื่อใหม่ (สื่อดิจิทัล) ตลอดจน สื่อหลอมรวมและนวัตกรรมสื่อ
- การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การรู้เท่าทันสื่อ ความฉลาดทางสารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL)
- การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสื่อมวลชนและผู้ผลิตสื่อฯ
- จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อ การกำกับดูแลสื่อ การอภิบาลสื่อ
- การเฝ้าระวัง การวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ และการตรวจสอบ เนื้อหาสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์
- การศึกษาผลกระทบของสื่อต่อเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
- การศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการป้องกัน และลดผลกระทบจากเนื้อหาสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์
รูปแบบการประชุมวิชาการครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลงานแบบ Oral Presentation และ Poster ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมอย่างกว้างขวาง โดยในปีนี้มีผลงานวิชาการเข้าร่วม จำนวน 30 บทความ
ดร.ธนกร ศรีสุขใส (ผู้จัดการกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์) เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการวารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 2 กล่าวว่า “การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระหว่างนักวิชาการ นักวิชาชีพ นักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านการนำเสนอบทความ วิชาการหรือบทความวิจัยด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อคลายกรอบการติดเนื้อหาแบบเดิม ๆ รวมทั้งเพิ่มเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ แล้วก็นำเสนอข้อความที่จำเป็นเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้คนที่เขานำเสนอบทความหรือคัดเลือกบทความแล้วมานำเสนอรายงานแบบปากเปล่า เหมือนมาสอบวิทยานิพนธ์ ประการแรกก็หวังว่าการจัดกิจกรรมเวทีวิชาการของกองทุนจะเป็นสิ่งที่จะกระตุ้น เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับนักวิจัย นักวิชาการ ที่ต้องการนำเสนอผลงานและต้องการเผยแพร่ได้มีเวที ซึ่งเราสร้างตรงนี้ให้ ประการที่สองต้องการให้มหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมในการที่จะทำงานวิชาการ ส่วนประการสุดท้าย ต้องการให้กิจกรรมนี้ได้เป็นแรงกระตุ้นให้คนได้หันมาคิด สื่อมีผลกระทบกับเราทั้งทางบวกและทางลบ เป็นต้น”
ทั้งนี้มีผลงานมีวิชาการเข้าร่วม ประชุมในระดับชาติ 30 บทความ อาทิ โค้ชชิ่งการ์ดสื่อการสอนเพื่อสร้างความคิดเชิงนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการ โครงการการผลิตสื่อคอมมิก เรื่องปัญหาการคล้อยตามสังคม การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทักษะการทำงานของสมองระดับสูงเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-6ปี ด้วยโปรแกรมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเกษตรธรรมชาติ อย่างไรก็ตามกองทุนยังเปิดรับงานวิจัยด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่าง ต่อเนื่อง เป็นต้น
โดยในกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการจัดเสวนาใน หัวข้อ “งานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ผู้ร่วมเสวนาประกอบไปด้วย คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี (ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ) คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ (ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา) ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ (นักวิชาการอิสระ) รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้น (คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ) ร่วมกันเสวนา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับบริบทของสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน บทสัมภาษณ์ โดยผู้ดำเนินรายการคือ ผศ.ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ (วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)